วางแผนภาษีนิติบุคคล

คุณเจ้าของธุรกิจที่อยากลดภาระภาษี มีกำไรมากขึ้นแต่อยากจ่ายภาษีนิติบุคคลให้น้อยลง หาบิลค่าใช้จ่ายยาก ไม่มีผู้ที่มีความรู้ทางด้านภาษีและไม่รู้จะคุยกับสรรพากรอย่างไร มาปรึกษาทีมเราก่อนได้ค่ะ เรามีทั้งทีมวางแผนการเงินและทีมบัญชีที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี มาให้คำแนะนำ

ทางออกที่สามารถทำได้อย่างถูกกฎหมาย และถูกระเบียบของทางสรรพากร แถมยังช่วยคุ้มครองความเสี่ยงของบริษัทหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน และยังช่วยเปลี่ยนใบเสร็จค่าใช้จ่ายทั่วไปให้เป็นสวัสดิการ บำเหน็จ หรือ บำนาญได้ก็คือ การใช้ “ประกันคีย์แมน” เข้ามาช่วยค่ะ

Wealths Mission by Napat วางแผนการเงินสู่ความมั่งคั่งที่ยั่งยืนไปกับเรา

ข้อดีของประกันคีย์แมน

  • ช่วยคุ้มครองบุคคลสำคัญของบริษัทหรือองค์กร
  • ช่วยสร้างสวัสดิการให้กับเจ้าของกิจการ
  • ช่วยสร้างเงินสดสำรองให้ครอบครัวและเงินสำหรับดูแลกิจการ (เงินที่ได้จากประกันเป็นเงินปลอดภาษี)
  • ช่วยสร้างรายจ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • ช่วยลดเงินกู้ยืมกรรมการ
  • ช่วยลดปัญหาเรื่องกำไรสะสม
  • ช่วยลดรายจ่ายต้องห้ามทางภาษี
  • ช่วยให้การส่งต่อธุรกิจไปสู่รุ่นถัดไปเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ประกันคีย์แมน เหมาะกับธุรกิจแบบไหนบ้าง

ธุรกิจในครอบครัว (กงสี)

ธุรกิจออนไลน์

ธุรกิจขนาดกลาง

คำถามที่พบบ่อย

หมวด 1 : “ประกันคีย์แมน”

ประกันคีย์แมน (Keyman Insurance) คือ ประกันชีวิตที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องธุรกิจ จากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กรณีที่คีย์แมนเสียชีวิต เจ็บป่วย หรือไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งบริษัทหรือกิจการจะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันให้กับบุคคลสำคัญในองค์กร จากนั้นจึงนำใบเสร็จค่าเบี้ยประกันมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้เต็มจำนวน อย่างถูกกฎหมาย ในการคำนวณหักออกจากกำไรสุทธิ ทำให้กิจการเสียภาษีนิติบุคคลลดลง

คีย์แมน หมายถึง บุคคลสำคัญในองค์กรโดยพิจารณาจาก

  • เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจให้มีความก้าวหน้าและมีผลกำไรให้องค์กร
  • เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อบริษัท เช่น ผู้ที่มีทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์เฉพาะด้าน หรือ ความสามารถที่ยากต่อการทดแทนดังนั้น คีย์แมน ได้แก่ เจ้าของกิจการ, ประธาน, กรรมการ, ผู้จัดการ เป็นต้น
  1. ได้ค่าใช้จ่ายที่ถูกต้อง ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร
  2. ช่วยกิจการประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 20% ตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
  3. เป็นการเอาเงินออกจากกิจการไปสู่เจ้าของกิจการได้อย่างถูกต้อง และปลอดภาษี
  4. ช่วยสร้าง และยกระดับสวัสดิการให้กับกรรมการหรือผู้บริหารได้อย่างเหมาะสม
  5. ช่วยสร้างกองทุนมรดก ปกป้องค่าความสามารถให้กับกรรมการและผู้บริหาร

อ้างอิงจากข้อหารือของกรมสรรพากร ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับการใช้เบี้ยประกันชีวิตของกรรมการมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้อย่างถูกต้อง ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (3), (13) และ (19)

หมวด 2 : หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาประกัน

1. เงื่อนไขในการสมัคร

  • ผู้เอาประกัน : ต้องเป็นกรรมการที่มีชื่ออยู่ในหนังสือจดทะเบียนการค้า และต้องทำให้กรรมการทุกคน
  • แบบประกัน : ประกันแบบตลอดชีพ ประกันแบบสะสมทรัพย์ ประกันแบบบำนาญ และสามารถแนบสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ โรคร้ายแรง และอุบัติเหตุได้
  • เบี้ยประกันที่สามารถทำได้ : ตามความเหมาะสม ไม่ให้มากจนเกินไป ซึ่งระดับความเหมาะสมเบื้องต้นคือ ระหว่าง 5% ของรายได้ หรือ 20% ของกำไรก่อนภาษี อย่างใดอย่างหนึ่งที่น้อยกว่า
  • ผู้รับประโยชน์ : ทายาทของกรรมการ หรือทายาทของกิจการ

2. เงื่อนไขทางภาษี

เบี้ยประกัน

  1. กรรมการนำค่าเบี้ยประกัน (ที่มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) มาลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาได้
  2.  กรรมการต้องนำค่าเบี้ยประกันมารวมเป็นเงินได้ เพื่อคำนวณเสียภาษีบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 40 (1)

ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์

กรณีกรรมการเสียชีวิต

  • ผู้รับประโยชน์เป็นทายาทของกรรมการ : ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ผู้รับประโยชน์เป็นบริษัท : ต้องนำเงินชดเชยจากประกันมารวมเป็นรายได้ของบริษัทเพื่อคำนวณเสียภาษีนิติบุคคล

กรณีกรรมการมีชีวิตครบสัญญา

  • เงินจ่ายคืนระหว่างกรมธรรม์ และเงินครบกำหนดสัญญา กรรมการไม่ต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา

หากเป็นการจ่ายเบี้ยประกันให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไป ตามระเบียบและมติที่ประชุมของบริษัท ไม่เป็นการจ่ายเพื่อการส่วนตัวหรือให้โดยเสน่หา บริษัทสามารถนำเบี้ยประกันมาใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

บริษัทต้องนำค่าสินไหมหรือเงินได้จากการประกันภัย ไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร

เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินค่าภาษีอากรที่บริษัทออกให้ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มที่กรรมการได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) ซึ่งกรรมการจะต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

จำเป็นต้องทำให้กับกรรมการทุกคน เพื่อไม่ให้เข้าข่ายให้เป็นการส่วนตัว หรือโดยเสน่หา แต่หากมีกรรมการบางท่านที่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากปัญหาสุขภาพหรืออายุเกิน ให้ทำรายงานการประชุมชี้แจงและแนบหลักฐานการปฏิเสธของบริษัทประกัน

บริษัทสามารถจ่ายภาษีทุกทอดสำหรับภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเบี้ยประกันให้กรรมการได้

ทำไม่ได้ เพราะถือเป็นรายจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว บริษัทไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่งประมวลรัษฎากร

ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือเงินสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตของกรรมการที่ครอบครัวหรือทายาทเป็นผู้รับประโยชน์ ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด หรือเงินได้จากการประกันภัย เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลรัษฎากร

ไม่สามารถทำได้ เพราะเข้าข่ายลักษณะเป็นรายจ่ายที่เป็นการส่วนตัว หรือการให้โดยเสน่หา มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทไม่มีสิทธินำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

หมวด 3 : ขั้นตอนการทำประกันคีย์แมน

เมื่อลูกค้าได้แบบประกันที่ตอบโจทย์ และได้ตัดสินใจที่จะทำประกันคีย์แมนแล้ว ก็ทำตามขั้นตอนตามนี้ได้เลย

  1. ส่งคำขอเอาประกัน พร้อมเอกสารประกอบ
  2. ตรวจสุขภาพ
  3. ชำระเบี้ยประกัน และรับใบเสร็จชั่วคราว
  4. ขอหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกัน
  5. รับมอบกรมธรรม์

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้ง หรือผู้มีอำนาจ

1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทำเบียนเป็นนิติบุคคล หรือ หนังสือจดทะเบียนการค้า หรือ หนังสือแสดงการจดทะเบียนองค์กร ฉบับปัจจุบัน หรือล่าสุดที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
2. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ หรือผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาขนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ทีอำนาจลงนาม มอบอำนาจให้บุคคลอื่น)
4. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
5. สำเนาบริคณห์สนธิ

เอกสารแสดงสถานะทางการเงินของบริษัท

1. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ล่าสุด
2. รายการเงินฝากถอนบัญชีเงินฝาก (Bank Statement) ย้อนหลังล่าสุด 6 เดือน
3. งบกำไรขาดทุน งบดุล ย้อนหลัง 3 ปี
4. รายงานประจำปีของบริษัท หรือ เอกสารที่แสดงถึงบริษัทดำเนินธุรกิจใด มานานเท่าใด จำนวนพนักงานกี่คน
5. สำเนามติที่ประชุมกรรมการ หรือ ผู้ถือหุ้นบริษัท โดยวาระการประชุมจะต้องระบุ วัตถุประสงค์และเหตุผล ผู้ขอเอาประกันภัยเป็น Keyman และบริษัทจะชำระเบี้ยประกันให้

เอกสารของผู้ขอเอาประกันภัย (คีย์แมน)

1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีพิสูจน์ความสัมพันธ์ของผู้รับประโยชน์)
3. สำเนาสัญญาการว่าจ้างงาน และ/หรือหนังสือรับรองการทำงานที่มีรายละเอียดถึง ตำแหน่ง รายได้ ระยะเวลร่วมงานกับบริษัท รวมถึงผลประโยชน์อื่นๆ

ให้ถือปฏิบัติตามมาตราฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป

  • ภงด.1 และใบแนบ ภงด.1 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
  • ภงด.1 ก และใบแนบ ภงด.1 ก ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป
  • ออกหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) แสดงการจ่ายเงินได้ ค่าเบี้ยประกัน และภาษี ภาษีออกแทนให้กับกรรมการ เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.91) ต่อไป

“วางแผนภาษีนิติบุคคลโดยผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาฟรี คลิก”